การบริหารหลักสูตร
มหาวิทยาลัยรามคำแหงกับการต่อยอด
กระบวนการเรียนรู้สู่ชุมชนการบริหารหลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ : หลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรมโดย
การบูรณาการความรู้พื้นฐานในระดับสากลกับความรู้หยั่งลึกในโครงสร้างเชิงวัฒนธรรมวิถีชีวิตและจริยธรรม
ของชุมชนเพื่อเป็นผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนไปสู่ความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้
การบริหาร : มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นองค์กรนำ ในการบริหารหลักสูตรตามมาตรฐานสากลและมีกระบวน
การประเมินผลคุณภาพการเรียนการสอนตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยรามคำแหงโดยมีคณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรฯที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้รู้ในชุมชนร่วมเป็นเจ้าภาพในการบริหารและ
ประสานงานหลักสูตรฯ
มหาวิทยาลัยรับผิดชอบในการบริหารจัดอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับชาติระดับท้องถิ่นและชุมชน
เพื่อยกระดับการบริหารหลักสูตรไปสู่การจัดนวัตกรรมการเรียนรู้ที่การจัดการกระบวนการเรียนรู้เป็นสหวิทยาการ
ระหว่างอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยากรจากมหาวิทยาลัย ปราชญ์ชาวบ้านและผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน
คณะกรรมการบริหารศูนย์เรียนรู้ที่เป็นพันธมิตรทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยมีหน้าที่หลักในการประสานงาน
การดำเนินงานหลักสูตรฯให้บรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพโดยมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนงบประมาณ
ส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานศูนย์การเรียนรู้และการศึกษาวิจัยของชุมชน
นักศึกษา : นักศึกษาทุกคนในหลักสูตรนี้เป็นทรัพยากรมนุษย์ในระดับยุทธศาสตร์ที่มีคุณค่าสูงเพราะเมื่อเรียนจบ
หลักสูตรนี้นักศึกษาจะได้รับความรู้เชิงบูรณาการที่เป็นเครื่องมือและวิธีคิดระดับสากลจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับ
มหาวิทยาลัยผสมผสานกับความรู้ระดับลึกที่เป็นประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนจากผู้รู้ผู้ทรงคุณวุฒิวิทยากร
และปราชญ์ชุมชน ร่วมกันศึกษาวิจัยเพื่อต่อยอดกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนกับความรู้ในชุมชนระหว่างระหว่าง
การบริหารกระบวนการเรียนรู้ก่อนนักศึกษาจบหลักสูตร
ดังนั้นเมื่อสำเร็จการศึกษา นอกจากนักศึกษาที่เรียนจะได้รับปริญญาตามหลักสูตรแล้วประโยชน์ต่อเนื่อง
ที่จะได้รับคือองค์ความรู้ที่เป็นงานวิจัยของนักศึกษาในการต่อยอดกระบวนการเรียนรู้สู่การแก้ปัญหาในชุมชน
งานวิจัยเหล่านี้จะกลายเป็นแผนยุทธศาสตร์ชุมชนที่สามารถนำไปขับเคลื่อนเป็นประเด็นนโยบายสาธารณะของ
ท้องถิ่นได้ในอนาคต
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน สามารถเข้ามาเป็นเจ้าภาพมี
ส่วนร่วมในการประสานงานหลักสูตรนี้ได้เป็นอย่างดีเนื่องจากหลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นคือกลไก
ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลในระดับยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาชุมชนโดยตรงเพราะปัญหาหลัก
ในการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนในปัจจุบันนี้ คือทรัพยากรบุคคลการขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ และการจัดการที่ดี
ประการแรกที่สำคัญคือ หลักสูตรนี้จะต่อเติมการขาดบุคลากรที่มีความรู้ระดับยุทธศาสตร์ของชุมชนได้และเป็น
ทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่นที่พร้อม ในการร่วมมือพัฒนาชุมชนของตนเองหรือที่ตนอาศัยอยู่
ประการที่สอง หลักสูตรจะต่อยอดองค์ความรู้ที่เป็นสากลและการเชื่อมโยงองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาสาธารณะ
ของชุมชนผู้นำท้องถิ่นและผู้นำชุมชนสามารถขับเคลื่อนชุมชนแก้ปัญหาชุมชนด้วยความรู้
ประการที่สาม หลักสูตรจะผลิตผู้นำที่มีความรู้คู่คุณธรรม ในการเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมเป็นนักบริหารจัดการ
ที่สามารถเชื่อมโยงระดับยุทธศาสตร์รู้กว้างและรู้ลึกในประเด็นปัญหาของชุมชนมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้
ในทุกระดับเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชน เป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าและเพิ่มมูลค่าของการพัฒนาชุมชน
ตลอดไป
สังคมและประเทศ : มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชน มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการผลิตทรัพยากร
บุคคลในทุกระดับที่มีความรู้คู่คุณธรรม มหาวิทยาลัยจึงมีความรับผิดชอบอย่างสูงในการพัฒนาการศึกษาและ
การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมและนำประเทศชาติไปสู่การพัฒนาที่ดีในทุกๆด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม
สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างผู้นำสังคมที่มีคุณธรรมในทุกระดับของประเทศ
หลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จึงเป็นอีกหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีเป้าหมาย
ในการต่อยอดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาชนและสังคมกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ
มีส่วนร่วมของชุมชน จะช่วยกันสร้างทรัพยากรของสังคมที่มีความรู้ความสามารถเพื่อช่วยกันเปลี่ยนแปลงชุมชนที่
อ่อนแอสู่ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ มีสุขภาวะในทุกๆด้าน
ชุมชนที่มีความเข้มแข็งคือชุมชนที่ประชาชนในชุมชนทุกคนผู้นำชุมชนมีความรู้แจ้งเห็นจริงในปัญหา
ของตนเอง เรียนรู้และพัฒนาเพื่อนำองค์ความรู้มาบริหารจัดการตนเองและชุมชนสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน
ชุมชนได้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม มีผู้นำคุณธรรมเสียสละประโยชน์ตนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
เมื่อชุมชนทั่วประเทศมีความเข้มแข็ง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นรูปธรรมคือความเข้มแข็งของท้องถิ่นที่เป็นหัวใจของ
การปกครองแบบประชาธิปไตย มีการสร้างวัฒนธรรมการเมืองจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีสถาบันการเมือง
ภาคพลเมืองที่เข้มแข็งจัดการแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เชื่อมั่นว่าพลังแห่งความเป็นชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้สามารถเกิดได้ทั่ว
ประเทศไทยโดยการจัดการกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างผู้นำคุณธรรม
ในทุกภาคส่วนของชุมชนและสังคม จากกระบวนการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชุมชนและภาคีเครือข่าย ประชาชนและปราชญ์ชุมชนทั่วประเทศ